
ท่องสวิสเซอร์แลนด์ โดย …. พันชนะ วัฒนเสถียร
เตเต้อยากเล่า “การเดินทางที่สะท้อนความเป็นปกติใหม่” (2) ตรงต่อเวลาคติแบบชาวสวิส ก้าวแรกที่ออกจากเครื่องบินTG 970 สุวรรณภูมิ-ซูริค มองไปจะเห็นโฆษณานาฬิกาหลากหลายแบรนด์สองข้างทาง สวยงาม หรูหรา สมค่าอัตลักษณ์แห่งเมืองนาฬิกา Made In Swiss
จากการที่ได้พูดคุยกับคุณน้องแนน ไกด์ชาวไทยที่เติบโตในสวิสตั้งแต่อายุ 5ขวบ (ที่ลมหมุนวนมาเจอกันโดยไม่ได้นัดหมายมาก่อน – เตเต้พบกับน้องแนนตอนไปทัวร์ยุโรปปี 2015 ) น้องแนนได้รับการติดต่อจากผู้แทนสมาคมนักเรียนเก่าสวิสส์ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ให้มาดูแลคณะเราที่ได้รับจากนายกสมาคมฯ คุณกอบลาภ โปษะกฤษณะ เพื่อพาคณะเราไปทัวร์ “ตามรอยพระภูมิบาล โลซานน์รำลึก”
มีเรื่องเล่าพอเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เก็บเกี่ยวมาได้ดังนี้
- ชาวสวิสให้ความสำคัญกับ “เวลา” นั่นหมายถึงทั้งในแง่ของ ความตรงต่อเวลา รักษาเวลา เคารพเวลา ของทั้งเขาและเรา (ทุกคน) ไม่ว่าจะเราไปไหน ทำอะไร และในอีกด้านหนึ่งคือ การให้ความสำคัญกับ “ช่วงเวลา ณ ปัจจุบันขณะ” หรือที่เรียกว่า Moment สะท้อนบุคลิกภาพของชาวสวิสเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะทำอะไร ให้อยู่กับปัจจุบัน จนกลายมาเป็น Swissness ถ้าจะเปรียบเทียบก็คล้ายๆของคนไทยคือคนไทยมียิ้มสยามประมาณนั้นและชอบทำอะไรแบบสบายๆ & ไม่เป็นไร ตามสไตล์เรา (ที่คนอื่นๆมองเราและชอบเรา -ยกให้เป็นข้อดี)2. ชาวสวิส ให้ความสำคัญกับคนในชาติ พลเมืองของเขาด้วยการ เคารพในคุณภาพการผลิตสินค้าใด ๆก็ตามที่มีตราประทับ Made in Swiss เรียกว่าสกรีนแล้วสกรีนอีกอย่างเข้มงวด มั่นใจได้ และแถมยังประกาศก้องให้โลกรู้ว่า คนสวิสต้องได้บริโภค ใช้ กิน ของดี ที่ผลิตที่บ้านเมืองเขาก่อนใคร ถ้ามีเหลือเฟือแล้วถึงส่งออก
ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ค่อยจะมี เราจึงไม่ได้ค่อยรู้เรื่องนี้กันเท่าไหร่ ยกเว้นไปกิน ดื่ม เที่ยวที่นั่นและได้รับคำอธิบายเป็นเรื่องเป็นราว แบรนด์ของสวิสที่คนไทยรู้จัก เช่น การไปเรียนการโรงแรมที่มีชื่อเสียงว่ามาตรฐานดีที่สุดในโลก นาฬิกาสวิสที่ไม่สามารถเอ่ยชื่อมาทั้งหมดได้ อย่างที่บอกบางแบรนด์ที่เราเห็นอยู่ในโชว์รูมนั้นให้มองเป็นอาหารตาเท่านั้น ถ้าจะสั่งจองต้องข้ามปีข้าม (หลาย) ปีกันเลยทีเดียว
ยกเว้นมีเส้นสายเป็นเพื่อนชาวสวิสหรือคนไทยที่ถือสัญชาติ ฟลุ๊กๆอาจซื้อได้ เพราะเขาให้แต่คนในประเทศเขาเท่านั้น (จริงๆ) เช่น นาฬิกา SWATCH X OMEGA ถ้าเดินไปถามจะทราบว่าเขาจะมีโควตาวันละ 7-8 เรือนในแต่ละสาขา outlet ไม่เท่ากัน หมดแล้วหมดกันวันนี้ พรุ่งนี้มาใหม่ ไม่รับปาก มาก็ได้ ไม่มาก็ได้ (ถ้ามี)
- ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ในร้าน COOP, MIGROS ล้วนแต่อร่อย เห็นหน้าตาธรรมดา มีแค่นั้นผลิตวันละจำนวนไม่มาก มีความพอเพียงในสายเลือด อร่อยวันนี้อยากไปเหมาก็ไม่มีแล้ว ซื้อได้เท่าที่มี เป็นเทรนด์การผลิตที่ล้ำหน้ามาก และไม่นิยมบริโภคอาหาร ชนิดใด ๆนม เบเกอรี่ที่เดินทางมาจากที่ไกล ๆ เกินกว่าความจำเป็น ( slow food อย่างแท้จริง)
ช่วงที่ไปเดินใน coop กันพี่น้อง -คุณมยุรี ไชยพรหมประสิทธิ์ผู้บริหารระดับสูงจากสยามภิวัฒน์ ซื้อพายไส้โอวัลติน แจกทุกคนยังจำรสชาติได้ดี ไส้ช็อกโกแลตร้อนอร่อยมาก พี่น้องเป็นผู้ใหญ่ใจดีเป็นเจ้าภาพเลี้ยงพวกเราตลอด นานๆจะยอมให้พวกเราได้เลี้ยงกลับบ้าง ไม่นับขนมอบหลากหลายชนิด เดินไปร้านไหนก็น่าพุ่งเข้าไปเสียหมด ร้านช็อกโกแลตแบรนด์ดังๆมากมาย ที่คนนิยมเช่น Sprungli ซูริก คิวยาวเหยียดเช่นเดิม แต่ช่วงนี้เขายังไม่เปิดให้นั่งในร้าน ที่นั่งด้านนอกเลยเต็มไปหมด ถ้านั่งข้างนอกแล้วเห็นต่อคิวยาวๆก็ต้องรีบกินให้หมด รู้สึกเกรงใจคนต่อคิว
- เกษตรกรเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่อง มีความรู้เรียนลึก เรียนนานเชี่ยวชาญพิเศษ ไม่ใช่ใครก็จะเป็นกันได้ ดังนั้นการยึดอาชีพเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ทำไร่องุ่น ไวน์ ชีส ฯลฯหรืออะไรที่เกี่ยวกับเกษตรในประเทศนี้ถือว่าเข้าขั้นสุด มีเกียรติ มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ลืมตาอ้าปากได้ดีกว่าอาชีพใด ๆ
เกษตรกรทุกแขนงสาขาใช้เทคโนโลยีช่วยทำมาหากิน วางแผนการผลิตอย่างเป็นระบบ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีเยี่ยม (ด้วยกลไกของภาษีที่นี่ด้วย ถึงแม้จ่ายภาษีสูงแต่ก็เท่าเทียม ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้จริง ไม่ทำให้ใครรู้สึกต่ำต้อยด้อยค่า หรือยากจนข้นแค้นแบบบางประเทศ) รัฐบาลให้การสนับสนุนเกษตรกรอย่างดี เพราะถือว่าเป็นสายเลือดหลักของการผลิตและดูแลคนในประเทศให้กิน (ของ) ดีมีคุณภาพชีวิตที่ดี
- การเรียนของคนที่นี่เน้นสหวิชาบูรณาการ เรียนให้ใช้ชีวิต ไม่ต้องเรียนหนัก เน้นศึกษาและเข้าใจธรรมชาติ (ปรัชญาธรรมะคือธรรมชาติของชีวิต) 6. ไวน์สวิสรสชาติดี คลาสสิก ไม่ดังเปรี้ยงปร้าง เพราะไม่พอเพียงต่อการส่งออก ถ้าใครไปเที่ยวแนะนำให้ลอง ไม่ว่าขาวหรือแดงดีทั้งนั้น ( เรื่องร้านอาหารจะขอเขียนแยกเพราะมีข้อมูลมาก) คณะเราได้มีโอกาสไปเที่ยว Lavaux Vinyard terraces ตรงบริเวณที่ปลูกองุ่น เป็นเมือง -หมู่บ้านที่ได้รับมรดกโลกด้วย มองเห็นทะเลสาบเจนีวา สงบ สวยงาม ( หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่าเป็น Swiss Riviara )
เพิ่มเติม:เมื่อตอนอายุน้อยๆ เตเต้เดินทางไปสวิสครั้งแรกยังงง ๆ ว่าทำไมพี่ๆถึงเชียร์ให้ซื้อพวกเครื่องสำอางค์หรือของใช้เช่น โลชั่นบำรุงผิว ฯลฯกลับมา (ไม่นับนาฬิกาที่เป็น It’s A Must ทุกคนจะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า Swiss Made ของดีนะ ไม่เหมือนที่ขายในบ้านเรา
ตอนนั้นเราไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ เพราะคิดว่าที่ไหนคงเหมือนๆกัน เดินทางมาเรื่อยๆก็พอจะเข้าใจมากขึ้น และนี่อาจเป็นข้อหนึ่งที่ทำให้คำว่า การผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดๆเพื่อสร้างความยั่งยืนในการทำธุรกิจที่เป็น “Branding” แตกต่างกับคำว่า “Commodity” ผลิตภัณฑ์ต่างกันอย่างไร (เอาไว้ค่อยขยายความ -ข้อนี้พี่ต๋อง คุณพุธิดล ครุฑานุช หนึ่งในผู้ก่อตั้งและผู้บริหารแห่ง White Glove Delivery & Silver Voyage Club เน้นหนักเน้นหนาตั้งแต่เริ่มต้นจนจบทริปด้วยกันเรื่องการสร้างแบรนด์ พี่ต๋องเคยทำงานกับ Luxury Brand หลากหลายมากมาย มีความรู้ขั้นเทพ หาตัวจับยากคนหนึ่ง)
สรุปโดยรวมเตเต้ขอก้มหน้าก้มตาสร้าง “แบรนด์”เล็กอย่าง “เป็นลาว”และ “อันหยังก็ได้”ต่อไป ขอบคุณ คุณกอบลาภ โปณะกฤษณะ นายกสมาคมนักเรียนเก่าสวิสส์ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลป์ยาณิวัฒนา กรมหลางนราธิวาสราชนครินทร์ ขอบคุณภาพจากบ.ก.QP Thai Edition พี่น้อย วนิดา
#SilverVoyageClub
#worldrewardsolutionsgroup
#qpthaiedition
#TheDiplomatnetwork