คลังเก็บป้ายกำกับ: วช.

วช. เปิดบ้านแถลงข่าว “วันนักประดิษฐ์” และ “รางวัลการวิจัยแห่งชาติ” ปี 2567

วช. เปิดบ้านแถลงข่าว “วันนักประดิษฐ์” และ “รางวัลการวิจัยแห่งชาติ” ปี 2567

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดแถลงข่าวเมื่อวันที่ 26 ม.ค. เกี่ยวกับการจัดงานวันนักประดิษฐ์ และรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนำประเทศ” ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 25 เพื่อน้อมรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์ การทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ “กังหันน้ำชัยพัฒนา” เครื่องกลเติมอาการที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” ซึ่งพิเศษสุด ปีนี้ วช. ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ทรงเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2567 และพระราชทานพระราชวโรกาสให้ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ เข้าเฝ้ารับพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ในวันศุกร์ที่ 2 ก.พ. เวลา 09.00 น.

ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการใช้. เป็นประธานเปิดกา ที่อาคาร วช.

ดร.วิภารัตน์กล่าวว่า การจัดงานในปีนี้ ประกอบด้วย ภาคนิทรรศการ การประกวดแข่งขันผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมทั้งระดับเยาวชนและระดับนานาชาติ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ตลอดจนพิธีมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยที่ได้สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ของประเทศให้เจริญก้าวหน้า โดยการสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้นักวิจัยและนักประดิษฐ์เกิดการพัฒนาศักยภาพ และเสริมสมรรถนะในการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ กระตุ้นให้มีการผลิตองค์ความรู้ใหม่ ๆ คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ

รวมทั้งผลักดันผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม โดยการมอบรางวัลแบ่งออกเป็น 4 ประเภทรางวัล ได้แก่ 1) รางวัลนักวิจัยดีเด่น 2) รางวัลผลงานวิจัย 3) รางวัลวิทยานิพนธ์ และ 4) รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น และในวันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 วช. ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการพระราชทานเกียรติบัตรแก่ผู้ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติในงานวันนักประดิษฐ์

ทั้งนี้ วช. มุ่งหวังว่าการจัดงานวันนักประดิษฐ์ในครั้งนี้ จะเป็นเวทีที่สำคัญระดับชาติอีกเวทีหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนให้กำลังคนด้านการวิจัยและนวัตกรรม ตอบโจทย์ด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรม เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ความหลากหลายจากต่างถิ่นต่างวัฒนธรรม จากนานาประเทศกว่า 20 ประเทศ กว่า 600 ผลงานจากนานาชาติ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาผลงานประดิษฐ์คิดค้นและเป็นกลไกสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน ให้เห็นความสำคัญของการประดิษฐ์คิดค้น อันมีคุณค่าและประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

สำหรับผลงานที่นำมาจัดแสดงภายในงานแถลงข่าวครั้งนี้ อาทิ
1. รางวัลสิ่งประดิษฐ์คิดค้น อาทิ
-เครื่องสกัดเทอร์ปีนและน้ำมันหอมระเหยแบบเคลื่อนที่จากสมุนไพรและดอกไม้หอมไทยโดยใช้เทคโนโลยีก๊าซตัวทำละลายควบแน่นที่อุณหภูมิและแรงดันต่ำเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตยาแพทย์แผนไทยและเวชสำอาง แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ได้รับรางวัลระดับดีเด่น
-อุปกรณ์ฝึกการทำงานของแขนแบบฝึกแขนสองข้าง ผ่านกลไกสะท้อนแบบสมมาตร แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตได้รับรางวัลระดับดีมาก
2. โซนตลาดสินค้าและนวัตกรรม อาทิ
-เครื่องดื่มโปรไบโอติก คีเฟอร์น้ำสับปะรด และคีเฟอร์น้ำมะพร้าว แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
-นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ซักผ้าไหมด้วยนวัตกรรมจากสารสกัดธรรมชาติ แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
3. และกิจกรรมที่น่าสนใจในนิทรรศการ Highlight Zone อาทิ นิทรรศการ The Survival game ตะลุยแดนภัยพิบัติ ที่นำเสนอแกมหนีภัยสึนามิในโลกเสมือนจริง นิทรรศการ Fruit Fun Fair ผลไม้หรรษา ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัยมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ส้มโอฉายรังสี ทุเรียน Fresh cut

และภายในงานแถลงข่าว ได้มีการจัดการเสวนาแนะนำ 1 ในนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2567 สาขานิติศาสตร์ คือ รองศาสตราจารย์ ดร.นาถนิรันดร์ จันทร์งาม แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกด้วย

ทั้งนี้ วช. ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจ เข้าร่วมชมงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2567 ตั้งแต่เวลา 09.00 -17.00 น. ณ Event Hall 100-102 : ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ผู้ร่วมงานจะได้พบนิทรรศการผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมมากกว่า 1,000 ผลงาน
🟢นิทรรศการ “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” และนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ
🟢นิทรรศการ รางวัลการวิจัยแห่งชาติ
🟢นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจากหน่วยงานเครือข่ายในประเทศและต่างประเทศ
🟢มหกรรมประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ IPITEx 2024
🟢นิทรรศการประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน Thailand New Gen Inventors Award 2024: I-New Gen Award 2024
🟢นิทรรศการ Highlight อาทิ Youth Inventors Club กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนานักประดิษฐ์รุ่นเยาว์
และขอเชิญเข้าร่วมเสวนาและฝึกอบรม มากกว่า 100 หัวข้อ
🟢การเสวนาในหัวข้อการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม
🟢การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประดิษฐ์คิดค้น
🟢การฝึกอบรมอาชีพ

ลงทะเบียนและรายละเอียดเพิ่มเติม https://inventorsday.nrct.go.th

0 Shares

มรภ.เชียงใหม่ โชว์ศูนย์ Green Road การบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน เพื่อสังคมสีเขียว

มรภ.เชียงใหม่ โชว์ศูนย์ Green Road การบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน เพื่อสังคมสีเขียว

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่เมื่อวันที่7 ม.ค. ตรวจเยี่ยมศูนย์ Green Road การบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน เพื่อสังคมสีเขียว ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.)เชียงใหม่ โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ร่วมเยี่ยมชม

โครงการบริหารจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน กรีนโรด เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและขยายผลที่ วช. ให้การสนับสนุนทุน มรภ.เชียงใหม ดำเนินการ โดยมี ผศ.ดร.เวชสวรรค์ หล้ากาศ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย โดยศูนย์ Green Road อยู่ในการดูแลของ มรภ.เชียงใหม่

ดร.วิภารัตน์กล่าวว่า ปัญหาขยะและการจัดการโดยใช้เทคโนโลยีและการวิจัยนวัตกรรมที่เหมาะสมมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งการบริหารจัดการของ Green Road ในรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการบริหารจัดการขยะพลาสติก จากทั่วประเทศเพื่อนำมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ นับว่าเป็นModelที่ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากหลายภาคส่วน เป็นการลดการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use packaging) โดยส่งเสริมให้ใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกที่นำกลับมาใช้ใหม่หรือสามารถรีไซเคิลได้ง่ายเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น

ผศ.ดร.เวชสวรรค์กล่าวว่า เป้าหมายหลักคือการเก็บขยะ และคัดแยกขยะพลาสติกเพื่อนำมาทำพื้นที่กิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย และนำมาทำบล็อกรีไซเคิลเพื่อปูพื้นในวัด จากนั้นได้มีการขยายผลไปที่ชุมชนข้าง ในรูปแบบกลุ่มจิตอาสา โดยกรีนโรดทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม และได้รวบรวมขยะมาบริจาคให้โครงการ จนเป็นที่มาของโครงการ “ขยะแลกบุญ” โดยใช้ผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ปัจจุบัน ช่วย รณรงค์ให้คนในประเทศคัดแยกขยะ ลดการใช้พลาสติกแบบ Single-Use และรับบริจาคขยะพลาสติกจากประชาชนทั่วประเทศ เพื่อนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ ถนนสีเขียว ทางรถเข็นผู้พิการ บล็อกรีไซเคิล โต๊ะเก้าอี้สนามหรือของเล่นสำหรับเด็กพิเศษ แล้วนำไปบริจาคต่อให้โรงเรียน วัด อุทยานแห่งชาติ สวนสาธารณะ และพื้นที่สาธารณะประโยชน์ โดยมุ่งหวังที่จะทำให้คนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และดำเนินชีวิตต่อไปอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าขยะชุมชนถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งการลดขยะของขยะชุมชนจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และลดขยะชุมชนได้อย่างยั่งยืน

0 Shares

ฟรี อบรมการเก็บเกี่ยวส้มโอ-มะม่วงมหาชนกส่งออก

ฟรี อบรมการเก็บเกี่ยวส้มโอ-มะม่วงมหาชนกส่งออก

รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและ แปรรูปผลไม้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) เปิดเผยว่า ทางศูนย์และและ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ จัดการอบรม เรื่อง การจัดการเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวส้มโอและมะม่วงมหาชนกเพื่อการส่งออกสหรัฐอเมริกา ที่วิทยาลัยชุมชนพิจิตร หน่วยจัดการศึกษาทับคล้อ

อ.ทับคล้อ จ. พิจิตร
กำหนดการวันที่ 17 มกราคม 67
ช่วงเช้า: ภาคบรรยาย
1. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อการส่งออกส้มโอไปสหรัฐอเมริกา
โดย รศ ดร พีระศักดิ์ ฉายประสาท
มหาวิทยาลัยนเรศวร
2. การฉายรังสีเพื่อกำจัดแมลงวันทองก่อนการส่งออกสหรัฐอเมริกา
โดย ดร สุวิมล เจตะวัฒนะ
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
ช่วงบ่าย: ศึกษาดูงานโรงคัดบรรจุ ณ ศูนย์ส่งออกส้มโอโพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร
ฟรีตลอดการอบรมไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ จำนวนผู้เข้าร่วมไม่เกิน 50 ท่าน ขอเรียนเชิญเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้

0 Shares

วช. แถลง 10 เรื่องเด่นการวิจัยและนวัตกรรม ปี 66 พร้อมเปิดตัว 10 Flagships งานวิจัย ปี 67

วช. แถลง 10 เรื่องเด่นการวิจัยและนวัตกรรม ปี 66 พร้อมเปิดตัว 10 Flagships งานวิจัย ปี 67

เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) แถลงข่าว 10 ผลงานเด่นการวิจัยและนวัตกรรม ปี 2566 จากการขับเคลื่อนและบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะ และการมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ พร้อมเปิดตัว 10 Flagships งานวิจัย ปี 2567 “การขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ สู่ความเป็นเลิศ และนำประเทศไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”

ดร.วิภารัตน์กล่าวว่า วช.ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้นำการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ เพื่อยกระดับขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์โลก โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาที่ตอบโจทย์ท้าทายสังคมและประเทศ ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ โดยปี 2566 วช. มี 10 ผลงานเด่นการวิจัยและนวัตกรรม ดังนี้

รางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประกอบด้วย รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ และรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น การประกวดในเวทีระดับนานาชาติ วช. ได้คัดเลือกและนำส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในเวทีนานาชาติของประเทศไทยกว่า 300 ผลงานต่อปี และสามารถคว้ารางวัลจากทุกเวทีมาได้มากมาย ศูนย์สารสนเทศกลางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อาทิ ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ National Research and Innovation Information System: NRIIS และ จดหมายเหตุการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และดัชนีการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ งานวิจัยด้านผลผลิตการเกษตรในระดับส่งออก อาทิ การพัฒนาและยืดอายุการเก็บรักษาทุเรียนสดแบบแกะพู และการฉายรังสีต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว มะม่วงมหาชนกและส้มโอเพื่อการส่งออกประเทศสหรัฐอเมริกา งานวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข อาทิ นวัตกรรม Software Smart Bed นวัตกรรมป้องกันการเกิดแผลกดทับ นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) และโครงการวิจัยท้าทายไทย : ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ หรือ Fluke Free Thailand งานวิจัยด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อาทิ นวัตกรรม “ระบบข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเบ็ดเสร็จ” หรือ “ศูนย์เฝ้าระวังคุณภาพอากาศ (Air Quality Information Center: AQIC)” และ สวน “ภูมิทัศน์พรรณไม้ลด PM2.5” การพัฒนาสมรรถนะด้วย

ปัญญาประดิษฐ์: เทคโนโลยีโดรน อาทิ การบินโดรนแปรอักษรหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวในพื้นที่ โดรนประเมินความเสี่ยงปัญหาภัยแล้งให้เกษตรกร และโดรนบรรทุกสารดับเพลิง เพื่อการสนับสนุนและลดความเสี่ยงของการดับไฟป่า งานวิจัยเพื่อเตรียมรับสังคมสูงวัย อาทิ โครงการเปลี่ยนเกษียณเป็นพลัง ศูนย์พัฒนาความรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรม อาทิ ศูนย์เกษตรวิถีเมือง พื้นที่แห่งการเรียนรู้นวัตกรรมการปลูกพืชในเมือง ศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน เป็นอาคารต้นแบบในการนำสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมมาสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ และ รางวัลรัฐบาลดิจิทัล ประจำปี 2566 (Digital Government Award 2023) หรือ DG Awards 2023 ซึ่ง วช. ได้ยกระดับระบบการให้บริการในรูปแบบออนไลน์ หรือ e-Service ให้มีมาตรฐาน จนได้รับรางวัล 4 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลหน่วยงานคุณภาพ ด้านบุคลากรดิจิทัล รางวัลหน่วยงานคุณภาพ ด้านบุคลากรดิจิทัล รางวัลหน่วยงานคุณภาพด้านการใช้ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance) และ รางวัลรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานระดับกรมที่ให้บริการเป็นหลัก อันดับที่ 5

สำหรับในปี 2567 วช. ได้ตั้ง Flagships ที่จะขับเคลื่อนยกระดับผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อทำให้เกิดผลงานที่มี Impact สูงทางสังคมและเศรษฐกิจ สร้างองค์ความรู้พื้นฐานทางวิชาการ เพื่อตอบโจทย์ท้าทายสำคัญทางสังคม ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ บรรลุตามเป้าหมายการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยได้วาง Flagships ไว้ 10 ด้าน ดังนี้
Flagships ที่ 1 ด้านอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ วช. ได้กำหนดทิศทางและจุดมุ่งเน้นที่สำคัญของ Creative economy และ soft power ที่ประเทศไทยมีโอกาสและมีศักยภาพ ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ให้เป็นไปอย่างมีทิศทางเชิงกลยุทธ์ นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจโดยอุตสาหกรรม Soft Power เป้าหมายของประเทศไทย
Flagships ที่ 2 ด้านอุตสาหกรรมอาหาร วช. มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Innovation house) โดยใช้วัตถุดิบทางการเกษตรมาแปรรูปในเชิงพาณิชย์ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ
Flagships ที่ 3 ด้านเศรษฐกิจฐานรากและเชิงพื้นที่ วช. มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและพื้นที่ชุมชนให้มีความมั่นคงและยั่งยืน
Flagships ที่ 4 ด้านการรองรับสังคมสูงวัย วช. มุ่งเน้นการวิจัยและนวัตกรรมที่รองรับสังคมสูงวัย เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ
Flagships ที่ 5 ด้านสังคมไทยไร้ความรุนแรงนวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย วช. มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์สังคมไทยไร้ความรุนแรง เพื่อความสงบสุขสันติของประชาชน
Flagships ที่ 6 ด้านนวัตกรรมทางการแพทย์ วช. มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อความมั่นคงทางสุขภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกส์, นวัตกรรมทวารเทียม, นวัตกรรมเตียงพลิกตะแคงป้องกันแผลกดทับ เป็นต้น
Flagships ที่ 7 ด้านสิ่งแวดล้อม วช. มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความยั่งยืน และครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ
Flagships ที่ 8 ด้านการบริหารจัดการน้ำ วช. มุ่งเน้นการวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำ ผลักดันแนวทางการจัดการน้ำเพื่อรับมือและแก้ปัญหาวิกฤตน้ำท่วม น้ำแล้ง ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ
Flagships ที่ 9 ด้าน AI ปัญญาประดิษฐ์ วช. มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ
Flagships ที่ 10 ด้านการพัฒนาการของมาตรฐานการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัลของไทย วช. ได้จัดทำมาตรฐานการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัล เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลในคลังสารสนเทศดิจิทัลและใช้เป็นมาตรฐานในการตรวจประเมินและรับรองคุณภาพการดำเนินงานคลังสารสนเทศดิจิทัลของประเทศไทย

“วช. เชื่อมั่นว่า 10 Flagships ปี 2567 จะชูศักยภาพงานวิจัยให้ใช้ได้จริง สร้างโอกาสให้คนไทยก้าวไกลระดับโลก ตอกย้ำภารกิจขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พลิกโฉมให้ไทยเป็นประเทศพัฒนาและพร้อมสำหรับโลกอนาคต” ดร.วิภารัตน์กล่าว

0 Shares

วช.- สอศ. เดินหน้าขับเคลื่อนนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา ปี 67 พร้อมมอบรางวัลติดดาว 19 ผลงานเด่นผลงานสิ่งประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา

วช.- สอศ. เดินหน้าขับเคลื่อนนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา ปี 67 พร้อมมอบรางวัลติดดาว 19 ผลงานเด่นผลงานสิ่งประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กระทรวงการศึกษาธิการ จัดกิจกรรมการบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation ประจำปี 2567


ภาคกลางและภาคตะวันออก โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการวช. เป็นประธานในพิธี
เปิดกิจกรรมฯ พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “พัฒนากำลังคนสู่การขับเคลื่อนประเทศโดยใช้ฐานนวัตกรรม” และมี ดร.นิรุตต์ บุตรแสนลี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คณะผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ในสาขาต่าง ๆ และสถานศึกษาภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวน 43 สถาบัน เข้าร่วมกิจกรรม ระหว่างวันที่ 18 – 20 ธ.ค.นี้ ที่โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จ.พระนครศรีอยุธยา

ดร.วิภารัตน์กล่าวว่า วช. และ สอศ. ได้วางกลไก
การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและบุคลากรของสถาบันการศึกษาได้พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีทักษะและคุณลักษณะที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง ด้านเทคโนโลยีของโลก สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ และเพื่อเป็นการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง วช. จึงเร่งพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา และเสริมสร้างทักษะที่สําคัญจําเป็น และสมรรถนะที่ตรงตามความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ


ทั้งนี้ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญที่จะส่งผลกระทบทั้งต่อโลกและประเทศไทยในระยะยาวทั้งด้านสังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ และการเมือง มีความจําเป็นที่ประเทศต้องเตรียมพร้อมรวมถึงหาแนวทางเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง ได้อย่างเหมาะสม โดยแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อาทิ นวัตกรรมพลิกโฉมและนวัตกรรมขั้นแนวหน้า ล้ำยุค สังคมสูงวัย การขยายตัวของความเป็นเมือง ความเหลื่อมล้ำและความไม่เสมอภาค ทางสังคม การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และการขาดแคลนทรัพยากร
ฯลฯ ทั้งนี้การจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจและมีสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
เข้าร่วม จำนวน 43 สถาบัน ซึ่งคาดหมายว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรของสายอาชีวศึกษา ที่ร่วมกันเรียนรู้จากการบ่มเพาะจากผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านในที่นี้ตลอดทั้ง 3 วันที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 18 – 20 ธ.ค.
เพื่อพัฒนาทักษะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมให้สามารถร่วมกันพัฒนางานประดิษฐ์คิดค้นที่รองรับความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศในอนาคตได้อย่างเต็มภาคภูมิ

ดร.นิรุตต์กล่าวว่า หน้าที่ของ สอศ. ต้องการสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงไปตอบโจทย์จากพัฒนาของประเทศนอกจากจะมีทักษะด้านวิชาชีพ ด้านการบริการชุมชนสังคม สิ่งหนึ่งที่ทำให้กำลังคนอาชีวศึกษามีสมรรถนะสูงคือ การเพิ่มกระบวนการคิดระบบการวิจัยนำไปสู่การสร้างสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม สอศ. ได้ส่งเสริมให้หลากหลาย
สาขาอาชีพที่มีอยู่ นำกระบวนการวิจัยไปบูรณาการ จัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อที่จะสร้างให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการแก้ไขปัญหา รวมไปถึงการพัฒนานวัตกรรม เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาอีกด้วย

งานนี้ดร.วิภารัตน์ฯกล่าวปิดกิจกรรม และมอบรางวัลติดดาวของทีมอาชีวศึกษาที่มีผลงานโดดเด่น
จำนวน 19 ผลงาน ใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่
กลุ่ม 1) ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
1.ชุดอุปกรณ์ตรวจจับโรคใบจุด (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
2.อาหารเป็ดสาวจากหอยเชอรี่ป่น (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี
3.เครื่องตัดใบสับปะรด (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
4.อุปกรณ์โยนกิ่งทุเรียน (รางวัลระดับ 5 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคตราด
กลุ่ม 2) ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ
5.โต๊ะซ่อมนาฬิกาขนาดเล็กเพื่อสุขภาพ (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์
6.เครื่องฆ่าเชื้อเสมหะผู้ป่วยวัณโรค (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว
7.เครื่องฝึกสหสัมพันธ์ของมือและตา (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
8.ชุดป้อนลวดเชื่อมแก๊สสำหรับผู้พิการทางมือ (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีชลบุรี
กลุ่ม 3) การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และอุปกรณ์อัจฉริยะ
9.สื่อการเรียนรู้โลจิสติกส์ เรื่อง กิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัย
เทคโนโลยีเกวลินบริหารธุรกิจ
10.แคชเชียร์ตรวจจับสินค้าด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษา
ชลบุรี
11.แอปพลิเคชันเกมจำลองโลกเสมือนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ทาง
แขนและมือจากภาวะโรคหลอดเลือดในสมอง (รางวัลระดับ 5 ดาว) จาก วิทยาลัยอาชีวะศึกษาเพชรบุรี
กลุ่ม 4) ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
12.เตาปิ้งย่างไร้ควันลดโลกร้อน (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรมแหลมฉบัง
13.เครื่องอบแห้งอัจฉริยะพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดหมุนเวียนความร้อน (รางวัลระดับ 3 ดาว)
จาก วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี
14.ชุดเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าระบบอัตโนมัติ (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิค
ชลบุรี
15.เครื่องลดฝุ่นควันเตาเผามะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยการอาชีพบ้าน
แพ้ว
กลุ่ม 5) ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจสร้างสรรค์
16.การส่งเสริมการออมโดยการสร้างบอร์ดเกม The Rise of Life (รางวัลระดับ 3 ดาว) จาก วิทยาลัย
เทคโนโลยีสารสาสน์
17.เกมวิชวลโนเวลเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ภูมิปัญญาไทย ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ (รางวัลระดับ 3
ดาว) จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาศาสนบริหารธุรกิจ
18.อุปกรณ์ช่วยปูเตียง (รางวัลระดับ 4 ดาว) จาก วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
19.หม้อทองไอศกรีมรสหม้อแกง (รางวัลระดับ 5 ดาว) จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี

ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมบ่มเพาะนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายอาชีวศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจในการเขียนข้อเสนอโครงการสิ่งประดิษฐ์ รวมถึงการขยายเครือข่าย ในการบ่มเพาะนักประดิษฐ์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเน้นนักศึกษาอาชีวศึกษาที่อยู่ในภาคกลางและภาคตะวันออก เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้เยาวชนได้เข้าใจและเห็นประโยชน์ของการวิจัยและพัฒนาต่อยอด และสร้างมูลค่า
สู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสังคมต่อไป

0 Shares

วช. ร่วมกับ จ.นครศรีธรรมราช เปิดตัว “กาแฟสิชล”สู่ Soft Power ฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

วช. ร่วมกับ จ.นครศรีธรรมราช เปิดตัว “กาแฟสิชล”สู่ Soft Power ฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.นายสวัสดิ์ สมัครพงศ์ สมาชิกวุฒิสภา คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วุฒิสภา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับจ.นครศรีธรรมราช โดย สำนักงานเกษตรจ.นครศรีธรรมราช และ สำนักงานเกษตรอ.สิชล ร่วมกันเปิดตัว “กาแฟสิชล (SICHON)” ภายใต้ “โครงการพัฒนาและยกระดับขบวนการผลิตเมล็ดกาแฟเขาหัวช้าง – สี่ขีดสู่ตลาดกาแฟคุณภาพ การเปิดตัว “กาแฟสิชล (SICHON)” โดยดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานวช. มอบหมายให้ นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม วช. เข้าร่วมในพิธีเปิดตัว และมี ประธานและกรรมการกลุ่มวิสาหกิจ “ฅนทำกาแฟสิชล” หน่วยงานภาครัฐ ตลอดจน ภาคีภาคประชาสังคมและประชาชนทั่วไป ร่วมเป็นสักขีพยาน

นายสวัสดิ์กล่าวว่า เชื่อมั่นและภูมิใจกับเกษตรกรในพื้นที่อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ที่ วช. ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาและยกระดับกาแฟสิชล สายพันธุ์โรบัสต้า ให้กลับมาเป็นที่รู้จัก จนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นอกจากนี้ กลุ่มวิสาหกิจ “ฅนทำกาแฟสิชล” ได้นำสัญลักษณ์ของช้าง ที่เป็นตัวแทนของเขาหัวช้าง ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของต.สี่ขีด อ.สิชล ที่มีอยู่ในแผนที่อ.สิชล กับตาไข่ (ไอ้ไข่)
มาเป็นโลโก้เพื่อแสดงให้เห็นถึง อัตลักษณ์และสร้างภาพจำ ได้อย่างน่าประทับใจ ด้วย

นายธีรวัฒน์กล่าวว่า
วช. ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตกาแฟ ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การปลูกกาแฟ กลางน้ำ คือ การยกระดับกระบวนการผลิตกาแฟ ปลายน้ำ คือ การสร้างการรับรู้ผ่านช่องทางการจำหน่าย รวมถึงการทำให้เป็นกาแฟที่มีคุณภาพระดับพรีเมียม ที่มีเครื่องหมายรับรองตามมาตรฐานสากล ซึ่งการเลือกพื้นที่ วช. ได้เลือกพื้นที่เขาหัวช้าง – สี่ขีด อ.สิชล เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกกาแฟพันธุ์ดั้งเดิมที่ปลูกมาไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วอายุคน และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ทั้งนี้ได้มีการขยายผลการปลูกกาแฟไปยังพื้นที่จ.ชุมพร และจังหวัดต่างๆในภาคใต้ตอนบนอีกด้วย

ผศ.ดร.สุดนัย เครือหลี นักวิจัยจาก มทร.ศรีวิชัย กล่าวว่า อาหารและเครื่องดื่ม
ถือเป็นปัจจัยให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยผ่านวัฒนธรรมการกินมาเป็นระยะเวลายาวนาน กาแฟสิชล ได้ผ่านการบรรจงและพิถีพิถันในการผลิตเมล็ดกาแฟคุณภาพ จนทำให้กาแฟสิชล เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับในระดับสากล

นายสุทิน ทองเต็ม กำนันต.สี่ขีด อ.สิชล กล่าวว่า คนสิชล รักถิ่นและมีความภาคภูมิใจในการทำกาแฟมาอย่างช้านานและการที่ วช. มทร.ศรีวิชัย และรัฐบาลให้ความสำคัญกับกาแฟสิชล ถือเป็นเรื่องที่ดี ถือเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้เกษตรกรชาวสวนกาแฟ จนทำให้ชาวสวนกาแฟได้ลืมตาอ้าปากกันอีกครั้งหนึ่ง

นายกิตติ์ณพงศ์ วงศ์เลี้ยง เกษตรอ.สิชล กล่าวว่า สำนักงานเกษตรจ.นครศรีธรรมราช มีความพร้อมที่จะผลักดันกาแฟสิชลให้เป็นที่ยอมรับ ตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และมีความเชื่อมั่นว่า วช. และ มทร.ศรีวิชัย จะทำให้กาแฟสิชลเป็นที่รู้จักแพร่หลาย และที่สำคัญเป็นเกียรติภูมิของอ.สิชลตลอดจนจ.นครศรีธรรมราชในระยะต่อไป

0 Shares

ทีมนักประดิษฐ์ไทยคว้ารางวัลจากเวที “The 3rd Asia Exhibition of Innovations and Inventions Hong Kong” (AEII) เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่Hong Kong Convention and Exhibition Centre ฮ่องกง

ทีมนักประดิษฐ์ไทยคว้ารางวัลจากเวที “The 3rd Asia Exhibition of Innovations and Inventions Hong Kong” (AEII) เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่Hong Kong Convention and Exhibition Centre ฮ่องกง

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำทีมนักประดิษฐ์ไทยสร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทยอีกครั้ง ในการคว้ารางวัลจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงาน AEII 2023 ในระดับต่างๆ โดยส่วนหนึ่งของผลงานที่ได้รับรางวัล ในระดับเหรียญทอง ได้แก่


-ผลงานเรื่อง “BioCa: สารเสริมธาตุอาหารแคลเชียมชีวภาพสำหรับพืช” โดย ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และคณะ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมได้รับรางวัล The 3rd Prize of Inventions Geneva Award on stage จาก สมาพันธรัฐสวิส
-ผลงานเรื่อง “OxyRock” โดย นายจีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ และคณะ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-ผลงานเรื่อง “วัสดุทดแทนกระดูกชนิดปรับความสามารถในการย่อยสลายได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาทางออร์โธปิดิกส์” โดย รศ. ดร. อนรรฆ ขันธะชวนะ และคณะ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี


-ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมถุงเพาะชำประสิทธิภาพสูงเสริมธาตุอาหารสำหรับพืชเก็บเกี่ยวราก” โดย นายขุนทอง คล้ายทอง และคณะ จาก โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
-ผลงานเรื่อง “เส้นพลาสติกหน่วงไฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสำหรับการพิมพ์สามมิติ” โดย ดร.ชุติพันธ์ เลิศวชิรไพบูลย์ และคณะ จาก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ


-ผลงานเรื่อง “โดรนกู้ภัยชายหาด” จาก สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ พร้อมได้รับ Special Prize on stage จาก China Association of Inventions สาธารณรัฐประชาชนจีน

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการวช. ได้ร่วมในพิธีมอบรางวัลและแสดงความยินดีกับนักประดิษฐ์นักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากเวที AEII 2023 ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงและการยอมรับในมาตรฐานของผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของประเทศไทยในระดับสากล รวมทั้ง วช.จะได้ส่งเสริมและต่อยอดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่ได้รับรางวัล เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์และการสร้างโอกาสในการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพและการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ต่อไป

สำหรับ 10 หน่วยงานจากประเทศไทยที่ร่วมสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในการคว้ารางวัลจากเวที “The 3rd Asia Exhibition of Innovations and Inventions Hong Kong” (AEII) ได้แก่
• จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
• มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
• สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
• มหาวิทยาลัยทักษิณ
• ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
• โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
• โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
• สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ
• MT Natural Herb Co., Ltd.

0 Shares

ม.หัวเฉียว แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และ วช. ร่วมจัดการสัมมนายุทธศาสตร์ไทย – จีน ครั้งที่ 12 “ร่วมสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกันในยุคใหม่”

ม.หัวเฉียว แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และ วช. ร่วมจัดการสัมมนายุทธศาสตร์ไทย – จีน ครั้งที่ 12 “ร่วมสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกันในยุคใหม่”

มหาวิทยาลัยหัวเฉียว (Huaqiao University) แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน และสมาคมจีนเพื่อการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (China Society for Southeast Asian Studies) จัดการสัมมนาวิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน ครั้งที่ 12” (The 12th  Thai – Chinese Strategic Research Seminar) ภายใต้หัวข้อเรื่อง “ร่วมสร้างประชาคมจีน-ไทยที่มีอนาคตร่วมกันในยุคใหม่ (Jointly Building a China-Thailand Community with a Shared Future in the New Era)” ระหว่างวันที่ 26-27 พ.ย. ที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีนในพิธีเปิดการสัมมนา ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการวช. และ Professor Xu Xipeng เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งมหาวิทยาลัยหัวเฉียว พร้อมด้วย ดร.ณรงค์ศักดิ์ บุณยมาลิก กรรมการบริหารสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ในการกล่าวเปิดการสัมมนา

ในการปาฐกถาพิเศษครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก Keynote speaker 3 ท่านได้แก่
-Prof.Yu Hongjun อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศจีน และอดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำอุซเบกิสถาน ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก การพัฒนาและความร่วมมือของภูมิภาค”
-ศ.กิตติคุณ นพ. สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “One Road One Destination”
-Prof. Fang Ning อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยรัฐศาสตร์ สถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์ (CASS)
ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ความหวังใหม่ของความทันสมัยของจีน”

สำหรับในปีนี้ ฝ่ายจีนได้เป็นเจ้าภาพจัดสัมมนา ที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยการสัมมนาประกอบด้วยการบรรยายและการนำเสนอผลงานวิจัย ภายใต้หัวข้อย่อย ได้แก่
1) ประสบการณ์การบริหารประเทศ และการขจัดความยากจน(Poverty Reduction and Development Governance)
2) หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ในโอกาสครบรอบ 10 ปี (The 10th Anniversary of the B&R Initiative and China-Thailand Cooperation)
3) การแลกเปลี่ยนทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวไทย-จีน หลังโควิด-19 (Trade, Investment and Tourism in the Post-COVID-19 Era)
4) จีนไทยศึกษาและการเชื่อมต่อระหว่างประชาชน
(China – Thailand Studies and People-to-People Exchange)

การสัมมนาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทระหว่างจีนกับไทย ในการดำเนินการในประเด็นสำคัญด้านการวิจัยอย่างบูรณาการ ตลอดจนพัฒนาการกำหนดเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย ไทย – จีน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกันของทั้งสองประเทศ

0 Shares

วช. หนุน มทร.ศรีวิชัย เพิ่มมูลค่า “กาแฟเขาหัวช้างสิชล” ในพื้นที่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช สู่ Soft Power

วช. หนุน มทร.ศรีวิชัย เพิ่มมูลค่า “กาแฟเขาหัวช้างสิชล” ในพื้นที่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช สู่ Soft Power

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการวช. มอบหมายให้ นายธีรวัฒน์ บุญสม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม นำคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ นายธานินทร์ ผะเอม นายสุพจน์ อาวาส และนายสุพจน์ กรประสิทธิ์วัฒน์ พร้อมด้วย ผู้แทนคณะกรรมาธิการฯ นายกัณฑ์อเนก เกตุแก้ว และนายจักรกฤษ สุขคง และคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อติดตามผลสำเร็จของโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟเขาหัวช้าง สี่ขีดสู่ตลาดกาแฟคุณภาพ” ที่ วช. ให้ทุนสนับสนุน โดยมี ผศ.ดร.สุดนัย เครือหลี หัวหน้าโครงการฯ


ซึ่ง นายศุภเกียรติ เพชรเศรษฐ์ ปลัดอำเภอรักษาราชการแทนนายอำเภอสิชล นายกิตติ์ณพงศ์ วงศ์เลี้ยง เกษตรอำเภอสิชล นายพีรพล จันทรักษ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฅนทำกาแฟสิชล น.ส.อุมาภรณ์ ศรีฟ้า เกษตรกรเจ้าของไร่ศรีฟ้า และผู้ประกอบการในพื้นที่ ให้การต้อนรับ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอสิชล และ ไร่ศรีฟ้า อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่24 พ.ย.

รศ.ดร.ยงยุทธกล่าวว่า จากการดำเนินงานของงานวิจัยจะเห็นได้ว่า ผลงานวิจัยจะนำไปสู่การช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ผลักดันให้กาแฟเขาหัวช้างซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ ต.สี่ขีด อซสิชล จ.นครศรีธรรมราช ให้เป็นที่รู้จัก รวมถึงการนำองค์ความรู้ไปต่อยอดสนับสนุนในภาคกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เมล็ดกาแฟเขาหัวช้าง สู่การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนแบบมีส่วนร่วม เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ นับเป็นโครงการที่ตอบโจทย์การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างชัดเจน สร้างความร่วมมือความสามัคคีของคนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

ผศ.ดร.สุดนัย เครือหลี หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า จากการดำเนินงาน โครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตเมล็ดกาแฟเขาหัวช้าง สี่ขีดสู่ตลาดกาแฟคุณภาพ” จะเห็นได้ว่า กาแฟเขาหัวช้าง สี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นกาแฟที่มีการปลูกกันมาอย่างช้านาน กาแฟที่ปลูกเป็นกาแฟพันธุ์โรบัสต้าที่นำต้นพันธุ์มาจากอําเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เดิมกาแฟโรบัสต้าสี่ขีดได้รับอย่างนิยมอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้มีการขยายพื้นที่ปลูกอย่างกว้างขวางทั่วอำเภอสิชล ต่อมาเมื่อราคากาแฟตกต่ำประกอบกับพืชชนิดอื่น เช่น ยางพารา ทุเรียน มีราคาสูงกว่า เกษตรกรจึงมีการเปลี่ยนจากการปลูกกาแฟไปปลูกยางพาราและทุเรียนเป็นจำนวนมาก สำหรับเกษตรกรที่ยังปลูกกาแฟในปัจจุบันประสบปัญหาผลผลิตไม่สม่ำเสมอ ส่งผลกระทบต่อรายได้ นำไปสู่การพัฒนากาแฟเขาหัวช้างของตำบลสี่ขีด ให้ได้มาตรฐานรองรับเป็นกาแฟที่มีคุณภาพ และมีอัตลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลผลิตกาแฟที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ซึ่งได้ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิตเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการแปลงปลูกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกาแฟ


รวมถึงจัดการอบรมเกษตรกรเรื่องการคัดเมล็ดกาแฟ พัฒนากลุ่มวิสาหกิจให้มีความเข้มแข็งโดยใช้การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม และการสร้างความรับรู้ สร้างช่องทางการจำหน่ายกาแฟเขาหัวช้าง สี่ขีด ผ่านช่องทางออฟไลน์การออกบูธงานแสดงสินค้าในงานต่าง ๆ และช่องทางออนไลน์การลงโฆษณาผ่านช่องทาง FACEBOOK ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้ากาแฟได้มากขึ้น สอดคล้องกับแนวทางการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ชุมชนเข้มแข็งอย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์กาแฟเขาหัวช้างสิชล จะนำไปสู่
การสร้าง Soft Power ให้กับพื้นที่และจะเป็นต้นแบบการผลิตกาแฟ ผลิตภัณฑ์ของชุมชนตำบลสี่ขีด อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราชที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชนรวมถึงไร่กาแฟในพื้นที่อื่น ๆ ผลักดันให้กาแฟไทยเป็นที่รู้จักและเข้าไปอยู่ในใจคนรักกาแฟได้มากยิ่งขึ้น และหากท่านใดสนใจสามารถสั่งซื้อกาแฟฝีมือคนไทย หรือติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ Facebook Page: Sichon Robusta

0 Shares

วช. นำผลงานประดิษฐ์คิดค้นและผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ จัดแสดงในระหว่างการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก

วช. นำผลงานประดิษฐ์คิดค้นและผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ จัดแสดงในระหว่างการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก

นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นประธานในการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก ประจำปี 2566 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำผลงานประดิษฐ์คิดค้นและผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยที่ได้รับรางวัลจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ในเวทีนานาชาติ จัดแสดงผลงานในระหว่างการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก ประจำปี 2566 ในวันที่ 21 พ.ย. และ 23 พ.ย.ที่วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการวช. ได้มอบหมายให้ นางสุภาพร โชคเฉลิมวงศ์ ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 1, น.ส.ศิรินทร์พร เดียวตระกูล ผู้อำนวยการกองบริหารทรัพยากรการวิจัยและนวัตกรรม และน.ส.กรรณิการ์ ดุรงคเดช ผู้อำนวยการภารกิจการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะนักประดิษฐ์นักวิจัย ร่วมให้การต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชมผลงาน ในพื้นที่จัดกิจกรรมนำเสนอผลงานประดิษฐ์คิดค้น ผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย ที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ โดยผลงานที่ร่วมจัดแสดงได้แก่
– นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) โดย รศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


– ชุดเฉดสีของกระเบื้องเคลือบวัดราชบพิธฯ โดย รศ.ดร.น้ำฝน ไล่ศัตรูไกล จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
– เครื่องคัดกรองโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุโดยใช้แสงความถี่ต่ำ โดย รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
– เครื่องวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และ PM10 แบบเซ็นเซอร์ (DustBoy) โดย รศ.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– การใช้ไม้ยืนต้นลดฝุ่น PM2.5 ด้วยรูปแบบโครงสร้างและลำดับชั้นต้นไม้แบบนิเวศป่าในเมือง โดย ผศ.ดร.กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
– โรงเรือนปลูกพืชมูลค่าสูงในสภาวะวิกฤติโดยใช้พลังงานสะอาดปรับลดอุณหภูมิและสร้างสภาวะที่เหมาะสมต่อพืช โดย รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– มะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออก โดย รศ.ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร

สำหรับสิ่งประดิษฐ์และผลงานวิจัย ที่ วช. นำมาจัดแสดงในระหว่างการประชุม เป็นผลงานที่ได้รับรางวัลจากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ อาทิ
-“The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products” (iENA 2023) ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
-“Seoul International Invention Fair 2023” ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี
ซึ่งผลงานที่จัดแสดงได้รับความสนใจผู้ที่เข้าร่วมประชุมอย่างต่อเนื่อง ตลอดช่วงเวลาที่ได้นำเสนอผลงาน

0 Shares